วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559






การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

        
       เป็นศิลปะการรำ  และการละเล่น  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “ฟ้อน”  การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา  และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ  เช่น  ชาวไต  ชาวลื้อ  ชาวยอง  ชาวเขิน  เป็นต้น  ลักษณะของการฟ้อน  แบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  แบบดั้งเดิม  และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง
             ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม   ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ  ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน  นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม   เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์     เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่  แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง                 
                การแต่งกาย    ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน    แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น   และความจำกัดของสถานที่  โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์  คือ  ถือเทียน ๑ เล่ม   การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้  ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ  คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม  และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก  แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม  แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย  มีอุบะห้อยศีรษะ
                โอกาสที่แสดง   ในงานพระราชพิธี   หรือวันสำคัญทางศาสนา  ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ   และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา    




          ฟ้อนเงี้ยว  เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่  ประกอบด้วย  ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่  แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่  การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม   จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน   หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ  มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน 
         การแต่งกาย  จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง   โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก  นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า  หรือกางเกงขากว้างๆ   หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า  สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู

        โอกาสที่ใช้แสดง      แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป



      ฟ้อนเล็บ  เป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม อ่อนช้อยลีลาการฟ้อนเล็บ จะแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เพราะการฟ้อนเล็บจะแสดงเป็นหมู่ การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคลต่าง ๆ

     การแต่งกายของผู้เล่นฟ้อนเล็บ ผู้ฟ้อนนุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ  ผมเกล้าแบบผมมวยสูง ติดดอกไม้ ห้อยอุบะ ปล่อยชายลงข้างแก้ม สวมเล็บยาวตรงนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ


กลองสะบัดชัย

กลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมักจะพบเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทาให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้คนที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
บทบาทของกลองสะบัดชัย
อาจกล่าวได้ว่า การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ได้นาชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ล้านนา และบทบาทของกลองสะบัดชัยจึงอยู่ในฐานะการแสดงในงานวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมือง และขบวนแห่ ฯลฯ
แต่ในโอกาสในการใช้กลองสะบัดชัยแต่เดิมจนถึงปัจจุบันยังมีอีกหลายประการ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในวรรณคดีต่าง ๆ มากมาย สรุปได้ดังนี้
1. ใช้ตีบอกสัญญาณ
2. เป็นมหรสพ
3.เป็นเครืองประโคมฉลองชัยชนะ
4. เป็นเครืองประโคมเพือความสนุกสนาน
ประเภทของกลองสะบัดชัย
กล่าวโดยสรุปกลองสะบัดชัยในปัจจุบันนี้มี 3 ประเภทคือ
1. กลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบที่มักเรียกว่า “กลองปูชา” แขวนอยู่ในหอกลองของวัดต่าง ๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทานองที่เรียกว่า “ระบ่า” ทั้งช้าและเร็ว บางระบามีฉาบและฆ้อง บางระบามีคนตีไม้แสะประกอบอย่างเดียว
2. กลองสองหน้า มีลูกตุบและคานหามซึ่งเป็นกลองที่จาลองแบบมาจากประเภทแรก เวลาตีผู้ตีจะถือไม้แสะข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งถือไม้ตีกลอง การตีลักษณะนี้อาจมีฉาบและฆ้องประกอบหรือไม่มีก็ได้ ปัจจุบันกลองสะบัดชัยประเภทนี้เกือบสูญหายไปแล้ว ผู้ที่ตีได้และยังมีชีวิตอยู่ (2548) เท่าที่ทราบคือ ครูมานพ (พัน) ยารณะ ซึ่งเป็นศรัทธาวัดสันป่าข่อย อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
3. กลองสองหน้า มีคานหาม ไม่มีลูกตุบ มีฉาบ ฆ้อง ประกอบจังหวะ และมักมีนาคไม้แกะสลักประดับซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายปัจจุบัน
กลองสะบัดชัยทั้ง 3 ประเภท ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูให้หวนกลับมาสู่ความนิยมอีก โดยประเภทแรกนอกจากจะมีการสอนให้ตีและมีบทบาทในวัด ก็ได้มีการนาเข้าสู่ขบวนซึ่งอาจมีการเคลื่อนย้ายโดยยกขึ้นค้างแล้วติดล้อเลื่อน ประเภทที่สองมีการเผยแพร่และกาลังเป็นที่นิยม สาหรับประเภทสุดท้ายก็ปรากฏแพร่หลายจนเกือบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของกลองล้านนา



 ฟ้อนสาวไหม
ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนาที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการ เลียนแบบอากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาในการฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงามยิ่ง          
 ฟ้อนสาวไหมเป็นฟ้อนทางภาคเหนือ ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ได้ปรับปรุงสืบทอด มาจาก ครูพลอยศรี สรรพศรี ทั้งนี้ ครูพลอยศรีได้ถ่ายแบบรับท่ามาจากหญิงชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย ชื่อ บัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ซึ่งคุณบัวเรียวก็ได้เรียนการฟ้อนนี้มาจากบิดาของตนอีกทีหนึ่ง

ผู้แสดง  ใช้ผู้หญิงแสดงจำนวนเท่าไรก็ได้ ปัจจุบันก็มีผู้ชายเข้ามาแสดงด้วยก็มี

การแต่งกาย  แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้

การแสดง  เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้ายและหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง  ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่าในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหมออกจากรัง ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอไหม พาดไหม ป๊อกไหม จนกระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ทอสำเร็จแล้ว

ดนตรี  ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมมี จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมาครูนาฎศิลป์ได้เลือกสรรใช้เพลง "ซอปั่นฝ้าย" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับการฟ้อนสาวไหมอย่างงดงามยิ่ง

สถานที่แสดง  ไม่จำกัดเวที

     โอกาสที่แสดง แสดงได้ทุกโอกาส และในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ 


ขอบคุณที่มา www.artsedcenter.com


นาฎศิลป์พื้นเมืองของไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี 

การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น 

เซิ้งสวิง   

            เซิ้งสวิง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรี ที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดเซิ้งสวิง ได้แก่ กลองยาว กลองแต๊ะ แคน ฆ้องโหม่ง กั๊บแก๊บ ฉิ่ง ฉาบ กรับ 

            การแต่งกาย   ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้อง  หญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ มือถือสวิง



เซิ้งโปงลาง 

          โปงลาง เดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทาง

ส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ" ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม 
การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น

            เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ



เซิ้งตังหวาย 
      เซิ้งตังหวาย เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีขอขมาของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังนิยมแสดงในงานนักขัตฤษ์และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติของภาคอีสาน ครูนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด กรมศิลปากร ได้ประยุกต์และจัดกระบวนรำขึ้นใหม่ รวม 12 ท่า จากท่ารำแม่บทอีสาน 

โดยผู้แสดงแต่งกายห่มผ้ายมีดอก นุ่งซิ่นฝ้ายมัดหมี่มีเชิง เกล้าผมสูง
เครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ โปงลาง แคน พิณ ซอ กั๊บแก๊บ ฉิ่ง และฉาบ



เซิ้งกระหยัง 

         เซิ้งกระหยัง เป็นชุดฟ้อนที่ได้แบบอย่างมาจากเซิ้งกระติบข้าว โดยเปลี่ยนจากกระติบข้าวมาเป็นกระหยัง ซึ่งเป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า เซิ้งกระหยัง เป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวกาฬสินธุ์ โดยอำเภอกุฉินารายณ์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยดัดแปลงและนำเอาท่าฟ้อนจากเซิ้งอื่นๆ เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสาละวัน ฯลฯ เข้าผสมผสานกันแล้วมาจัดกระบวนขึ้นใหม่มีอยู่ 19 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ท่าไหว้ ท่าไท ท่าโปรยดอกไม้ ท่าขยับสะโพก ท่าจับคู่ถือกะหยัง ท่านั่งเกี้ยว ท่าสับหน่อไม้ ท่ายืนเกี้ยว ท่ารำส่าย ท่าเก็บผักหวาน ท่ากระหยังตั้งวง ท่าตัดหน้า ท่าสาละวัน ท่ากลองยาว ท่ารำวง ท่าชวนกลับ ท่าแยกวง ท่านั่ง 
ที่ได้ชื่อว่าเซิ้งกระหยังเพราะผู้ฟ้อนจะถือกระหยังเป็นส่วนประกอบในการแสดง

         
 เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ หรือน้ำเงินขลิบขาว นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อมกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศีรษะ
           
          เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานซึ่งประกอบด้วย กลองยาว ฉาบ และฉิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ใช้แคน พิณ ปี่แอ้ เป็นเครื่องดำเนินทำนอง 
อุปกรณ์การแสดง กระหยัง



เซิ้งกะโป๋ 
      
     เซิ้งกะโป๋ เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลักโดยใช้กะโป๋ หรือ กะลามะพร้าว เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเล่น เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปิน อินโดนีเซีย โดยเฉพาะมาเลเซีย มีการละเล่นซึ่งใช้กะลาประกอบอยู่ ซึ่งเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวชาวมาเลย์ก็จะมีการรื่นเริงและฉลองกัน บ้างก็ช่วยกันขูดมะพร้าวและตำน้ำพริก จึงได้นำเอากะลามะพร้าวมา

เคาะประกอบจังหวะกันเป็นที่สนุกสนาน 

ระบำกะลาของมาเลเซียมีชื่อเป็นภาษามาเลย์ว่า "เดมปุรง" หรือแม้แต่ประเทศกัมพูชาก็มีการละเล่นที่ใช้กะลาเป็นอุปกรณ์เช่นเดียวกัน เซิ้งกะโป๋คงได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาที่นิยมเล่นกันในกัมพูชาและแถบอีสานใต้ ระบำกะลามีจังหวะเนิบนาบ จึงมีการปรับปรุงใหม่โดยใช้เพลงพื้นเมืองอีสาน และยังนำเอาเพลงพื้นเมืองของอีสานใต้มาใช้ประกอบอยู่คือเพลง เจรียงซันตรูจ

    เครื่องแต่งกาย เซิ้งกะโป๋จะแบ่งผู้แสดงออกเป็น 2 ฝ่าย คือ หญิงและชาย ฝ่ายหญิงนุ่งซิ่นพื้นเมืองอีสาน สวมเสื้อแขนกระบอก เกล้าผมมวยใช้แพรมนรัดมวย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าผูกเอว
         
    เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แต่เล่นลายพื้นเมืองของอีสานใต้คือ เจรียงซันตรูจ
    เซิ้งกะโป๋ หรือ เซิ้งกะลา นี้มีผู้ประดิษฐ์จัดทำเป็นชุดฟ้อนที่แตกต่างกันออกไป เช่น

  • วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะใช้ลีลาการกระทบกะลาที่ไม่คล้ายกับระบำกะลาของอีสานใต้มากนัก และนำการละเล่นของพื้นเมืองของเด็กอีสานมาประกอบ เช่น การเดินกะโป๋ หรือ หมากกุ๊บกั๊บ ฯลฯ 

  • วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด จะใช้ลีลาการกระทบกะลา ซึ่งพอจะเห็นเค้าว่าได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาของอีสานใต้ แต่งกายเช่นเดียวกับระบำกะลา คือฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คล้องสไบผูกชายที่เอว ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าพับทบด้านหน้า 
  ทิ้งชายด้านหลัง



เซิ้งกระติบข้าว 

    
         เซิ้งกระติ๊บข้าว เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี และแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ ไม่มีท่าทางอะไร มีแต่กินเหล้ายกมือไม้สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ (มีผู้นิยามว่า ฟ้อนตามแบบกรมสรรพสามิต) โดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม นอกจากให้เข้าจังหวะกลอง ตบมือไปตามเรื่องตามฤทธิ์เหล้า

ในราว พ.ศ. 2507 สมเด็จพระบรมราชินีนาถต้องการการแสดงของภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนา และเจ้าหญิงบีทริกซ์ แห่งประเทศเนเธอแลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงอีสานคือ หมอลำจังหวะช้าเร็ว โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย (รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้นจะนุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ไม่มีใครยอมห้อยกระติบข้าวเพราะเห็นว่ารุงรัง 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดูว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าว หรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็นอย่างไร ? คุณหญิงเบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่สองรำโดยห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่ากำลังน่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งคำเดียวว่า "น่าเอ็นดูดีนี่" ผู้รำทุกคนก็พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า "เซิ้งอีสาน" ต่อมามีผู้นำเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไปแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "เซิ้งกระติบข้าว"

          เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ขวา
            
         เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้ง
           
         อุปกรณ์การแสดง กระติบข้าว



ขอบคุณที่มา www.artsedcenter.com






วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นาฎศิลป์พื้นเมืองของไทย (ภาคกลาง)


การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง


       เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว   เช่น
เต้นกำรำเคียว 

        เต้นกำรำเคียว  เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว  ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน  ผ่อนคลายจากความเหน็ด
        โอกาสที่เล่น  เล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าวประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้ว  การเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
        วิธีการเล่น  จะแบ่งผู้เล่นเป็น  ๒  ฝ่าย  คือ ฝ่ายชาย  เรียกว่า  พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว     โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ  ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป   ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกัน    ร้องจนกว่าจะจบเพลง  ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
       การแต่งกาย   ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย  และเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมงอบ   และ  จะไม่ใส่รองเท้า   ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก    สีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้    และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
       ดนตรีที่ใช้  ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้  เฮ้ว ให้เข้าจังหวะ


รำวง 


       รำวง วิวัฒนาการมาจากรำโทน  เพลงร้องได้มีการกำหนดท่ารำของแต่ละเพลงไว้โดยเฉพาะ  เช่นเพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำ  เพลงชาวไทยใช้ท่าชักแป้งผัดหน้า  เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญใช้ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ เป็นต้น  เพลงรำวงที่กำหนดท่ารำโดยใช้ท่ารำแม่บทดังกล่าวนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน   นิยมในงานรื่นเริงแทนการเต้นรำ   และยังจัดเป็นชุดนาฏศิลป์ไทยที่นำไปแสดงเพื่อความบันเทิงได้อีกด้วย
        กำหนดการแต่งกายของผู้เล่นรำวงให้เป็นระเบียบ  เช่น  ผู้ชายแต่งชุดสากล  ผู้หญิงแต่งชุดเสื้อกระโปรง    หรือชุดไทยพระราชนิยม  ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  สวมเสื้อคอกลม   มีผ้าคาดเอว   ผู้หญิงแต่งชุดไทย  เป็นต้น
      
        การเล่นรำวง  นอกจากจะเป็นที่นิยมของชาวไทยแล้ว  ชาวต่างชาติก็ยังนิยมเล่นรำวงด้วยเพลง     รำวงที่ต่างชาติรู้จักและมักจะร้องกันได้  คือ  เพลงลอยกระทง  การเล่นรำวงจะเล่นได้ทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริงหรือมีการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในการนำนาฏศิลป์ไทยไปแสดงที่ต่างประเทศในบางครั้ง  เมื่อจบการแสดงแล้ว    จะมีการเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติ  ขึ้นมาร่วมรำวงกับผู้แสดงชายและหญิงของคณะนาฏศิลป์ไทย   นับเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างคณะนาฏศิลป์ไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาชมการแสดง  อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะการเล่นรำวงให้แพร่หลายไปในนานาประเทศอีกด้วย


  รำกลองยาว


  ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้
      เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
      การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้
โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”

ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น


ระบำชาวนา

    “ระบำชาวนา” ซึ่งผู้แต่งทำนองเพลงนี้คือ 
  นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ
 ส่วนท่ารำนั้นท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
 ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้คิดและออกแบบท่ารำ เมื่อได้ชมการแสดงระบำ   ชาวนา  แล้วจะมีสุนทรียภาพทางนาฏศิลป์ที่เกิดขึ้นดังนี้
                 ตัวละคร เครื่องแต่งกาย
ตัวละครนั้นจะเป็นชาวบ้านทั้งหญิงและชาย  จะเป็นแต่งชุดม่อฮ่อม ซึ่งเป็นชุดที่เรียบง่าย 
ไม่หรูหรา เป็นชุดพื้นบ้าน ที่เห็นแล้วจะจะทำให้รู้ได้เลยว่าการแสดงชุดนี้ต้องเกี่ยวกับการทำนา
               ขับร้อง บทร้อง บทเจรจา บทพากย์ 
การแสดงระบำชาวนา เป็นการแสดงที่ไม่มีการขับร้อง ไม่มีเนื้อเพลง มีเพียงดนตรี ประกอบจังหวะซึ่ง
เป็นดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
             ฉาก อุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำนาตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเกี่ยวข้าว ฉะนั้นอุปกรณ์ที่ใช้จึง
ได้แก่ เมล็ดข้าว เคียวเกี่ยวข้าว รวงข้าง กระด้ง เป็นต้น
              ดนตรีที่ใช้ประกอบ
ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง ดนตรีจะมีจังหวะที่สนุกสนาน 
เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และให้หายเหนื่อยจากการทำนา
             ท่าทางสื่อความหมาย
ท่ารำจะเป็นท่าที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา  เป็นขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว 
ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว เป็นต้น


ขอบคุณที่มา www.artsedcenter.com





นาฏศิลป์พื้นเมืองของไทย (ภาคใต้)

ภาคใต้   
      
       โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบาง   อย่างที่คล้ายคลึงกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง 
รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึง
ทุกวันนี้

การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น



   
     โนรา หรือบางคนเรียกว่า มโนห์รา เป็นศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ ลักษณะการเดินเรื่อง และรูปแบบของการแสดงคล้ายละครชาตรีที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในภาคกลาง เดิมการแสดงโนราจะใช้เนื้อเรื่องจากวรรณคดีเรื่องพระสุธน-มโนห์รา 
โดยตัดตอนแต่ละตอนตั้งแต่ต้นจนจบมาแสดง เช่น ตอนกินรีทั้งเจ็ดเล่นน้ำในสระ ตอนพรานบุญจับนางมโนห์รา ตอนพรานบุญจับนาง
มโนห์ราไปถวายพระสุธน ฯ ปกติการแสดงโนราจะเริ่มจากนายโรงหรือโนราใหญ่ซึ่งเป็นตัวเอกหรือหัวหน้าคณะอออกมารำ "จับบทสิบสอง" คือ การรำเรื่องย่อต่าง ๆ สิบสองเรื่อง เช่น พระสุธน-มโนห์ราพระรถ-เมรี ลักษณวงศ์ เป็นต้น แต่หากผู้ว่าจ้างไปแสดงขอให้จับตอนใดให้จบเป็นเรื่องยาว ๆ ก็จะแสดงตามนั้น

ผู้แสดง เป็นชายล้วน คณะหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ ๑๕-๒๐ คน แล้วแต่ขนาดของคณะ อาจมีถึง ๒๕ คน ก็ได้ ประกอบด้วย หัวหน้าคณะหรือนายโรงหรือโนราใหญ่ ๑ คน หมอไสยศาสตร์ ๑ คน ผู้รำอย่างน้อย ๖ คน อย่างมาก ๑๐ คน นายพราน (พรานบุญ) ๑ ทาสี (คนใช้ ตัวประกอบ ตัวตลก) ๑ คน นักดนตรี และลูกคู่จำนวน ๕-๖ คน ตาเสือ (ผู้ช่วยขนเครื่องและช่วยดูแลทั่วไป) ๑-๒ คน

         เครื่องดนตรี วงโนรา ประกอบด้วย กลองโนรา หรือทับโนรา โหม่ง ฉิ่ง ฉาบการแสดง โนราแต่เดิมจะแสดงบนพื้นดิน โดยใช้เสื่อปู ตัวโรงเป็นสี่เหลี่ยม มีหลังคามุงด้วยจาก มีเสากลาง ๑ ต้น มีแต่ไม้ไผ่สูงราว ๕๐ เซนติเมตร 
สำหรับตัวแสดงนั้น เรียกว่า "นัก" ด้านซ้ายและขวาของนักเป็นที่สำหรับดนตรีและลูกคู่นั่ง

         การแต่งกาย แบบดั้งเดิมจะแต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ ประกอบด้วย เทริด (ชฎา) สังวาล ปีกนกแอ่น หางหงส์ ทับทรวง สนับเพลา ชาวไหว ผ้าห้อยข้าง กำไลต้นแขน กำไลข้อมือ และสวมเล็บยาวไม่สวมเสื้อ เทริดจะสวมเฉพาะตัวนายโรงหรือโนราใหญ่เท่านั้น ส่วนนายพรานจะสวมหน้ากากเปิดคาง หน้ากากสีแดงสำหรับใช้ "ออกพราน" ส่วนหน้ากากพรานสีขาว จะใช้สำหรับนายพรานทาสี ตามความเชื่อและพิธีกรรมในการแสดง ถือว่าเป็นหน้าศักดิ์สิทธิ์ 

   แต่เดิมการเดินทางไปแสดงที่ต่าง ๆ จะต้องเดินทางเท้า จึงเรียกว่า "โนราเดินโรง" ก่อนจะออกเดินทางนายโรงจะช่วยกันขนเครื่องที่จะใชแสดงมาวางไว้กลางบ้าน และหมอไสยศาสตร์จะทำพิธีพร้อมกับบรรเลงดนตรี เพื่อขอความเป็นสิริมงคล ระหว่างเดินทางผ่านสถานที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะบรรเลงดนตรีเป็นการแสดงคารวะและอาจมีการำถวายมือด้วย เมื่อถึงสถานที่ที่จะแสดงจะนำเอาอุปกรณ์ต่าง ๆ กองไว้กลางโรง เมื่อจะถึงเวลาแสดง หมอไสย
ศาสตร์มาปกปักรักษา อย่าให้มีอันตรายใด ๆ 
จากนั้นลูกคู่ก็จะลงโรง (โหมโรง) สักพักหนึ่งเมื่อคนดูหนาตาแล้ว นายโรงก็จะขับบทบูชาครู และผู้แสดงออกรำ โดยเริ่มจากผู้แสดงที่ยังไม่ค่อยเก่งไปจนถึงคนเก่ง ๆ และสุดท้ายก่อนนายโรงจะออก ตัวนายพรานหรือตัวทาสีหรือตัวตลก จะออกมาร้องตลก ๆ 
จากนั้นนายโรงหรือโนราใหญ่จะออกรำ ซึ่งทุกคนจะคอยดูโนราใหญ่ เพราะถือว่าเป็นผู้ที่รำสวยที่สุดเมื่อนายโรงรำจบ ก็อาจจะเลิกการแสดงหรืออาจแสดงต่อด้วยเรื่องสุธน มโนห์รา พระรถเมรี ฯลฯ หรือที่เรียกว่า "จับบทสิบสอง" จนดึก เมื่อโนราใหญ่หรือนายโรงถอดเทริดออก ก็เป็นอันจบการแสดง
ความยาวของการแสดงชุดนี้ ใช้เวลาแสดงประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง




       



หนังตะลุง 


หนังตะลุง เป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ ที่มีมานานจนยังหาต้นตอดั้งเดิมไม่ได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคใด สมัยใด คงมีการบันทึกไว้ในระยะหลังที่เป็นหลักฐานแต่ เท่าที่มีการจดบันทึกได้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำหนังตะลุงจากภาคใต้มาแสดงถวายทอดพระเนตรที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙

การแสดงหนังตะลุง แต่เดิมจะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น ต่อมาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้น เริ่มนำเรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ มาแสดง ปัจจุบันหนังตะลุงนำนวนิยายรักโศก เหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันมาแสดง บางคณะก็แต่งบทนวนิยายเอง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวอิจฉา การเล่นหรือเชิดหนังตะลุงในช่วงหัวค่ำ ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการออกลิงขาว ลิงดำ หรือที่เรียกว่าจับลิงหัวค่ำซึ่งปัจจุบันนี้ก็ไม่มีแล้ว

คณะหนังตะลุง ประกอบด้วย นายหนัง ๑ คน ซึ่งมีเป็นเจ้าคณะเป็นผู้เชิดตัวหนัง พากย์และเจรจา ร้องรับและเล่นดนตรีด้วย ชื่อคณะมักจะใช้ชื่อของนายหนังเป็นชื่อคณะ เช่น หนังจูเลี่ยม กิ่งทอง ลูกคู่ ๕-๖ คน

                โรงหนังตะลุง จะปลูกเป็นเพิงหมาแหงน ฝาและหลังคามุงด้วยจากหรือทางมะพร้าว สูงจากพื้นดินราว ๑๕๐-๑๗๐ เซนติเมตร เป็นโรงสี่เหลี่ยม มีบันไดขึ้นด้านหลัง ใช้พื้นที่ราว ๘-๙ ตารางเมตร ด้านหน้าโรงจะมีจอผ้าขาวขอบสีน้ำเงินขึงเต็มหน้าโรง มีไฟส่องตัวหนังให้เกิดภาพ หน้าจอมีหยวกกล้วยทั้งต้น สำหรับปักตัวหนังวางอยู่ขอบล่างของจอด้านใน ลูกคู่และดนตรีจะนั่งอยู่ถัดจากนายโรง

                ตัวหนัง ทำจากหนังวัวแกะและฉลุ ขนาดจะต่างกันไปตามบทบาทของหนัง เช่น รูปเจ้าเมือง รูปยักษ์ รูปฤาษีจะมีขนาดใหญ่กว่ารูปอื่น คณะหนึ่ง ๆ จะมีตัวหนังราว ๑๕๐-๒๐๐ ตัว เวลาเก็บหนังจะแยกกันเก็บ เช่น ยักษ์ พระ นาง จะแยกกัน รูปฤาษี เทวดา ตัวตลกจะเก็บไว้บนสุด เก็บเป็นแผงซ้อน ๆ กัน มีไม้ไผ่สานเป็นเสื่อลำแพนหนีบอยู่ทั้งบนและล่าง และใช้เชือกผูกเก็บเป็นแผง ๆ

       ดนตรีประกอบการแสดง ประกอบด้วยโหม่ง ๒ ใบ ทับโนรา ๒ ใบ กลองโนรา ๒ ใบ ปี่ ๑ เลา
            ความยาวของการแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒-๖ ชั่วโมง



ระบำตารีกีปัส



       รำตารีกีปัส เป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ คำว่าตารี แปลว่า รำ คำว่า กีปัส แปลว่า พัด เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน 

      เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส 
บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วนๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การโซโล่ เสียงดนตรีทีละชิ้น




รองเง็ง


         การแสดงรองเง็ง เป็นการแสดงที่นิยมอยู่ในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจว่าจะเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตก ในยุคของการเริ่มติดต่อการค้าขายกับชาวสเปนหรือชาวโปรตุเกสที่มาติดต่อค้าขายกับชาวมาลายู
แต่ดั้งเดิมการแสดงรองเง็งจัดแสดงเฉพาะในบ้านของขุนนางหรือเจ้าผู้ครองเมืองเท่านั้น โดยฝึกหัดข้าทาสบริวารเอาไว้อวดหรือเอาไว้ต้อนรับแขกเมือง ต่อมาค่อย ๆ แพร่หลายออกไปสู่ชาวบ้านโดยผ่านทางการแสดงมะโย่งของชาวบ้าน เมื่อหยุดพักก็นำการเต้นรองเง็งออกมาแสดงคั่นเวลา ผู้แสดงมะโย่งก็อาจมาร่วมเต้นด้วย ทำให้การแสดงรองเง็งแพร่หลายขึ้น 
ต่อมาการเต้นและธรรมเนียมก็เปลี่ยนไปเปิดโอกาสให้ผู้ชมที่เป็นผู้ชายขึ้นไปเต้นคู่ด้วยได้เช่นเดียวกับรำวงของภาคกลาง เป็นต้น

จำนวนผู้แสดงแต่ละคนไม่จำกัดผู้เต้น แต่นักดนตรีจะมี ๔-๕ คนผู้แสดงอาจจะมากกว่า ๔ คู่ก็ได้
          
           เครื่องดนตรี ประกอบด้วยรำมะนา ๑-๒ ลูก ฆ้อง ๑ ลูก ไวโอลิน ๑ ตัว

          โอกาสที่ใช้แสดง ไม่จำกัด ใช้เฉพาะงานมงคลเท่านั้น สถานที่อาจจะเป็นลานกว้าง บริเวณบ้าน หรือบนเวที ตามแต่ความเหมาะสมการแต่งกาย เหมือนกับการแสดงซัมเปง แต่อาจจะประณีตบรรจงและใช้ผ้าที่ดูจะมีราคาและสวยงามมากกว่าการแต่งกายของซัมเปง 

          ท่าเต้นรองเง็ง แต่เดิมมีลีลาค่อนข้างปานกลาง ต่อมานำเอาจังหวะเต้นรำเข้าไปปะปน 
เช่น รุมบ้า แซมบ้า กัวลาซ่า เป็นต้น และใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าไปผสมด้วยเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน 
การเต้นหรือแสดงรองเง็ง จะไม่มีพิธีหรือขนบธรรมเนียมอื่น ๆ แต่จะเริ่มเมื่อดนตรีบรรเลงฝ่ายชายจะเข้าไปโค้งฝ่ายหญิง เพื่อเชื้อเชิญให้ออกเต้น ไม่มีการจับมือกัน เมื่อจบเพลงหนึ่ง ๆ ก็จะโค้งให้กัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะยืนคนละฝั่งของเวที หันหน้าเข้าหากัน ทั้ง ๒ ฝ่ายจะรักษาแถวให้ขึ้นลงอย่างมีจังหวะและลีลาที่นุ่มนวลเหมือนเต้นลอยอยู่บนอากาศอย่างแผ่วเบา
การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที

          


   ขอบคุณที่มา www.artsedcenter.com



Copyright © 2011 All Rights Reserved

Copyright Rights Reserved.


แบบทดสอบท้ายบทเรียน...



1   “วิวัฒนาการมาจากหนังสือใหญ่ต่อมาใช้ตัวโขนสลับกบการเชิดหนังใหญ ั ่ที่
     เรียกวาหนังติดตัวโขน เมื่อความนิยมเรื่องหนังใหญ ่ ่เลิกลงจึงนิยมแสดงโขนชนิดนี้” 
     จากข้อความ หมายถึงการแสดงชนิดใด 
     ก. โขนหน้าจอ      ข. โขนฉาก 
     ค. โขนโรงนอก       ง. โขนสลับฉาก 

2 .  การแสดงโขนชุดพระรามตามกวาง ลักษณะการเดินของพระรามและกวาง
     เป็นอยางไร 
    ก. เดินเป็นวง              ข. เดินเป็นวงกลม 
    ค. เดินเป็นทางตรง     ง. เดินเป็นทางคดไปมา 

3. เพลงหน้าพาทย์เพลงใดใช้ประกอบแสดงโขนชุดพระรามตามกวาง 
     ก. เชิด                   ข. เชิดจีน 
     ค. เชิดนอก            ง. เชิดฉาน 

4.  ภูมิปัญญาไทยที่สอดแทรกอยูในการแสดงโขนที่เห็นเด่นชัดกว่าลักษณะ ่
     อื่นๆคือภูมิปัญญาทางด้านใด 
     ก. การเต้น            ข. การขับร้อง 
     ค. การแต่งกาย     ง. การบรรเลงดนตรี 

5. รำวงมาตรฐานมีกี่เพลง
ก.
ข.
ค.
ง.

6. ฟ้อนเล็บ เป็นการแสดงของภาคใด
                                                                             
1.
2.
3.
4.

7 .เพราะเหตุใดผู้แสดงที่เป็ นพระนางไม่ต้องสวมหัวโขน จึงไม่เจรจาเอง 
    ก. เพราะผู้แสดงไม่ถนัด 
    ข. เพราะมีนักร้องและนักดนตรีร้องแทน 
    ค. เพราะต้องการรักษาจารีตของการแสดงโขนไว้ 
    ง. เพราะผู้แสดงไม่ได้รับการฝึ กหัดให้เจรจาเอง 

8 . ข้อใดเป็ นลักษณะท่ารําของการแสดงพื้นเมืองชุดรําสีนวล 
     ก. ตีบทตามเนื้อร้อง 
    ข. รําตามทํานองเพลง 
    ค. รําแบบนายนาดของสตรี 
    ง. ตีบทตามเนื้อร้องและมีท่ารําในทํานองเพลง 

9 .จังหวัดใดที่ทําการฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุดตารีกีปัส 
    ก. ยะลา 
    ข. สงขลา 
    ค. ปัตตานี 
    ง. นราธิวาส 

10. การแสดงประเภทใดที่สอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านในท้องถิ่น 
    ก. โขน 
    ข. ละครรํา 
    ค. ระบํา รํา ฟ้ อน 
    ง. การแสดงพื้นเมือง 

11. การแสดงนาฏศิลป์ พื้นเมืองชุดใดที่เน้นลีลาการเล่นเท้า 
    ก. สีนวล 
    ข . ตารีกีปัส 
    ค. ฟ้ อนสาวไหม 
    ง. ลาวดวงเดือน 

 12. ข้อใดเป็นจารีตในการแสดงโขน 
     ก. ก่อนการแสดงโขนต้องมีระบํา 
    ข. ก่อนการแสดงโขนต้องรําเบิกโรง 
    ค. ก่อนการแสดงโขนต้องบรรเลงเพลงสาธุการ 
    ง. ก่อนการแสดงโขนต้องผู้บรรยายเนื้อเรื่อง 

13 .นาฏศิลป์ พื้นเมืองพัฒนามากจากการแสดงประเภทใด 
    ก. การละเล่น 
    ข. การแสดงพื้นเมือง 
    ค. การเล่นเพลงพื้นบ้าน 
    ง. การร้องรําทําเพลง 

14 . “ระบําชาวนา” เป็นการแสดงประเภทใด? 
     ก. ระบํา เบ็ดเตล็ด 
     ข. นาฏศิลป์ เบ็ดเตล็ด 
     ค. ระบํา รํา ฟ้อน เซิ้ง 
     ง. การแสดงพื้นเมืองประเภทชุดเบ็ดเตล็ด 

15 . ข้อใดไม่ใช่หลักสําคัญของการแสดงนาฏศิลป์ 
     ก. เนื้อเรื่อง และการดําเนินเรื่อง 
     ข. สุนทรียภาพและลีลาในการแสดง 
     ค. การสื่อความหมาย และการริเริ่มสร้างสรรค์ 
     ง. ความถูกต้องของท่าเต้น ท่ารํา จังหวะ และทํานอง 

16.  ผู้ใดมีสุนทรียภาพที่ดีในการเป็ นผู้แสดง 
    ก. ใบบัวฝึกซ้อมท่องบทละครเพื่อให้จําได้ 
    ข. ใบบุญให้เพื่อนอ่านบทละครให้ฟังขณะกินข้าว 
    ค. ใบตาลท่องบทครั้งเดียวก็จําได้ เพราะตนเองความจําดี 
    ง. ใบแกวอยากแสดงในบทบาทที่เด ้ ่น ๆ เพราะคนดูจะได้จําได้ 

17 . ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อลักษณะกาแสดงของนาฏศิลป์ พื้นเมือง 
     ก. สภาพทางภูมิศาสตร์ นาฏศิลป์ พื้นบ้าน วัฒนธรรม 
     ข. สภาพทางภูมิศาสตร์ เครื่องแต่งกาย ศิลปะท้องถิ่น ดนตรี 
     ค. สภาพทางภูมิศาสตร์ ประเพณี ความเชื่อ ศาสนาและค่านิยม 
     ง. สภาพทางภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล 

18 .การวิเคราะห์การแสดงนาฏศิลปะไทยอย่างมีหลักการต้องปฏิบัติอย่างไร 
     ก. ต้องเสาะแสวงหาความความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ 
     ข. ต้องศึกษาด้านสุนทรียศาสตร์ของศิลปะการแสดง 
     ค. ต้องมีประสบการณ์ในการชมการแสดงนาฏศิลป์ ไทย 
     ง. ต้องศึกษาให้เข้าใจหลักการวิจารณ์การแสดงแต่ละประเภท 

19 .ศิลปะแห่งการร่ายรําและการแสดงเป็ นเรื่องราวต่าง ๆ หมายถึงข้อใด 
     ก. รํา 
     ข. ระบํา 
     ค. ละคร 
     ง. การแสดงพื้นเมือง 

20 . ข้อใดคือประโยชน์ของการเรียนวิชานาฏศิลป์ 
     ก. พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง 
     ข. รู้จักการประหยัดและอดออม 
     ค. รู้จักการใช้เวลาให้เป็ นประโยชน์ 
     ง. ข้อ 1 และ 3 ถูก