วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นาฏศิลป์พื้นเมืองของไทย (ภาคใต้)

ภาคใต้   
      
       โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบาง   อย่างที่คล้ายคลึงกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง 
รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึง
ทุกวันนี้

การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น



   
     โนรา หรือบางคนเรียกว่า มโนห์รา เป็นศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ ลักษณะการเดินเรื่อง และรูปแบบของการแสดงคล้ายละครชาตรีที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในภาคกลาง เดิมการแสดงโนราจะใช้เนื้อเรื่องจากวรรณคดีเรื่องพระสุธน-มโนห์รา 
โดยตัดตอนแต่ละตอนตั้งแต่ต้นจนจบมาแสดง เช่น ตอนกินรีทั้งเจ็ดเล่นน้ำในสระ ตอนพรานบุญจับนางมโนห์รา ตอนพรานบุญจับนาง
มโนห์ราไปถวายพระสุธน ฯ ปกติการแสดงโนราจะเริ่มจากนายโรงหรือโนราใหญ่ซึ่งเป็นตัวเอกหรือหัวหน้าคณะอออกมารำ "จับบทสิบสอง" คือ การรำเรื่องย่อต่าง ๆ สิบสองเรื่อง เช่น พระสุธน-มโนห์ราพระรถ-เมรี ลักษณวงศ์ เป็นต้น แต่หากผู้ว่าจ้างไปแสดงขอให้จับตอนใดให้จบเป็นเรื่องยาว ๆ ก็จะแสดงตามนั้น

ผู้แสดง เป็นชายล้วน คณะหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ ๑๕-๒๐ คน แล้วแต่ขนาดของคณะ อาจมีถึง ๒๕ คน ก็ได้ ประกอบด้วย หัวหน้าคณะหรือนายโรงหรือโนราใหญ่ ๑ คน หมอไสยศาสตร์ ๑ คน ผู้รำอย่างน้อย ๖ คน อย่างมาก ๑๐ คน นายพราน (พรานบุญ) ๑ ทาสี (คนใช้ ตัวประกอบ ตัวตลก) ๑ คน นักดนตรี และลูกคู่จำนวน ๕-๖ คน ตาเสือ (ผู้ช่วยขนเครื่องและช่วยดูแลทั่วไป) ๑-๒ คน

         เครื่องดนตรี วงโนรา ประกอบด้วย กลองโนรา หรือทับโนรา โหม่ง ฉิ่ง ฉาบการแสดง โนราแต่เดิมจะแสดงบนพื้นดิน โดยใช้เสื่อปู ตัวโรงเป็นสี่เหลี่ยม มีหลังคามุงด้วยจาก มีเสากลาง ๑ ต้น มีแต่ไม้ไผ่สูงราว ๕๐ เซนติเมตร 
สำหรับตัวแสดงนั้น เรียกว่า "นัก" ด้านซ้ายและขวาของนักเป็นที่สำหรับดนตรีและลูกคู่นั่ง

         การแต่งกาย แบบดั้งเดิมจะแต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ ประกอบด้วย เทริด (ชฎา) สังวาล ปีกนกแอ่น หางหงส์ ทับทรวง สนับเพลา ชาวไหว ผ้าห้อยข้าง กำไลต้นแขน กำไลข้อมือ และสวมเล็บยาวไม่สวมเสื้อ เทริดจะสวมเฉพาะตัวนายโรงหรือโนราใหญ่เท่านั้น ส่วนนายพรานจะสวมหน้ากากเปิดคาง หน้ากากสีแดงสำหรับใช้ "ออกพราน" ส่วนหน้ากากพรานสีขาว จะใช้สำหรับนายพรานทาสี ตามความเชื่อและพิธีกรรมในการแสดง ถือว่าเป็นหน้าศักดิ์สิทธิ์ 

   แต่เดิมการเดินทางไปแสดงที่ต่าง ๆ จะต้องเดินทางเท้า จึงเรียกว่า "โนราเดินโรง" ก่อนจะออกเดินทางนายโรงจะช่วยกันขนเครื่องที่จะใชแสดงมาวางไว้กลางบ้าน และหมอไสยศาสตร์จะทำพิธีพร้อมกับบรรเลงดนตรี เพื่อขอความเป็นสิริมงคล ระหว่างเดินทางผ่านสถานที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะบรรเลงดนตรีเป็นการแสดงคารวะและอาจมีการำถวายมือด้วย เมื่อถึงสถานที่ที่จะแสดงจะนำเอาอุปกรณ์ต่าง ๆ กองไว้กลางโรง เมื่อจะถึงเวลาแสดง หมอไสย
ศาสตร์มาปกปักรักษา อย่าให้มีอันตรายใด ๆ 
จากนั้นลูกคู่ก็จะลงโรง (โหมโรง) สักพักหนึ่งเมื่อคนดูหนาตาแล้ว นายโรงก็จะขับบทบูชาครู และผู้แสดงออกรำ โดยเริ่มจากผู้แสดงที่ยังไม่ค่อยเก่งไปจนถึงคนเก่ง ๆ และสุดท้ายก่อนนายโรงจะออก ตัวนายพรานหรือตัวทาสีหรือตัวตลก จะออกมาร้องตลก ๆ 
จากนั้นนายโรงหรือโนราใหญ่จะออกรำ ซึ่งทุกคนจะคอยดูโนราใหญ่ เพราะถือว่าเป็นผู้ที่รำสวยที่สุดเมื่อนายโรงรำจบ ก็อาจจะเลิกการแสดงหรืออาจแสดงต่อด้วยเรื่องสุธน มโนห์รา พระรถเมรี ฯลฯ หรือที่เรียกว่า "จับบทสิบสอง" จนดึก เมื่อโนราใหญ่หรือนายโรงถอดเทริดออก ก็เป็นอันจบการแสดง
ความยาวของการแสดงชุดนี้ ใช้เวลาแสดงประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง




       



หนังตะลุง 


หนังตะลุง เป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ ที่มีมานานจนยังหาต้นตอดั้งเดิมไม่ได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคใด สมัยใด คงมีการบันทึกไว้ในระยะหลังที่เป็นหลักฐานแต่ เท่าที่มีการจดบันทึกได้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำหนังตะลุงจากภาคใต้มาแสดงถวายทอดพระเนตรที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙

การแสดงหนังตะลุง แต่เดิมจะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น ต่อมาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้น เริ่มนำเรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ มาแสดง ปัจจุบันหนังตะลุงนำนวนิยายรักโศก เหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันมาแสดง บางคณะก็แต่งบทนวนิยายเอง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวอิจฉา การเล่นหรือเชิดหนังตะลุงในช่วงหัวค่ำ ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการออกลิงขาว ลิงดำ หรือที่เรียกว่าจับลิงหัวค่ำซึ่งปัจจุบันนี้ก็ไม่มีแล้ว

คณะหนังตะลุง ประกอบด้วย นายหนัง ๑ คน ซึ่งมีเป็นเจ้าคณะเป็นผู้เชิดตัวหนัง พากย์และเจรจา ร้องรับและเล่นดนตรีด้วย ชื่อคณะมักจะใช้ชื่อของนายหนังเป็นชื่อคณะ เช่น หนังจูเลี่ยม กิ่งทอง ลูกคู่ ๕-๖ คน

                โรงหนังตะลุง จะปลูกเป็นเพิงหมาแหงน ฝาและหลังคามุงด้วยจากหรือทางมะพร้าว สูงจากพื้นดินราว ๑๕๐-๑๗๐ เซนติเมตร เป็นโรงสี่เหลี่ยม มีบันไดขึ้นด้านหลัง ใช้พื้นที่ราว ๘-๙ ตารางเมตร ด้านหน้าโรงจะมีจอผ้าขาวขอบสีน้ำเงินขึงเต็มหน้าโรง มีไฟส่องตัวหนังให้เกิดภาพ หน้าจอมีหยวกกล้วยทั้งต้น สำหรับปักตัวหนังวางอยู่ขอบล่างของจอด้านใน ลูกคู่และดนตรีจะนั่งอยู่ถัดจากนายโรง

                ตัวหนัง ทำจากหนังวัวแกะและฉลุ ขนาดจะต่างกันไปตามบทบาทของหนัง เช่น รูปเจ้าเมือง รูปยักษ์ รูปฤาษีจะมีขนาดใหญ่กว่ารูปอื่น คณะหนึ่ง ๆ จะมีตัวหนังราว ๑๕๐-๒๐๐ ตัว เวลาเก็บหนังจะแยกกันเก็บ เช่น ยักษ์ พระ นาง จะแยกกัน รูปฤาษี เทวดา ตัวตลกจะเก็บไว้บนสุด เก็บเป็นแผงซ้อน ๆ กัน มีไม้ไผ่สานเป็นเสื่อลำแพนหนีบอยู่ทั้งบนและล่าง และใช้เชือกผูกเก็บเป็นแผง ๆ

       ดนตรีประกอบการแสดง ประกอบด้วยโหม่ง ๒ ใบ ทับโนรา ๒ ใบ กลองโนรา ๒ ใบ ปี่ ๑ เลา
            ความยาวของการแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒-๖ ชั่วโมง



ระบำตารีกีปัส



       รำตารีกีปัส เป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ คำว่าตารี แปลว่า รำ คำว่า กีปัส แปลว่า พัด เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน 

      เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส 
บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วนๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การโซโล่ เสียงดนตรีทีละชิ้น




รองเง็ง


         การแสดงรองเง็ง เป็นการแสดงที่นิยมอยู่ในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจว่าจะเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตก ในยุคของการเริ่มติดต่อการค้าขายกับชาวสเปนหรือชาวโปรตุเกสที่มาติดต่อค้าขายกับชาวมาลายู
แต่ดั้งเดิมการแสดงรองเง็งจัดแสดงเฉพาะในบ้านของขุนนางหรือเจ้าผู้ครองเมืองเท่านั้น โดยฝึกหัดข้าทาสบริวารเอาไว้อวดหรือเอาไว้ต้อนรับแขกเมือง ต่อมาค่อย ๆ แพร่หลายออกไปสู่ชาวบ้านโดยผ่านทางการแสดงมะโย่งของชาวบ้าน เมื่อหยุดพักก็นำการเต้นรองเง็งออกมาแสดงคั่นเวลา ผู้แสดงมะโย่งก็อาจมาร่วมเต้นด้วย ทำให้การแสดงรองเง็งแพร่หลายขึ้น 
ต่อมาการเต้นและธรรมเนียมก็เปลี่ยนไปเปิดโอกาสให้ผู้ชมที่เป็นผู้ชายขึ้นไปเต้นคู่ด้วยได้เช่นเดียวกับรำวงของภาคกลาง เป็นต้น

จำนวนผู้แสดงแต่ละคนไม่จำกัดผู้เต้น แต่นักดนตรีจะมี ๔-๕ คนผู้แสดงอาจจะมากกว่า ๔ คู่ก็ได้
          
           เครื่องดนตรี ประกอบด้วยรำมะนา ๑-๒ ลูก ฆ้อง ๑ ลูก ไวโอลิน ๑ ตัว

          โอกาสที่ใช้แสดง ไม่จำกัด ใช้เฉพาะงานมงคลเท่านั้น สถานที่อาจจะเป็นลานกว้าง บริเวณบ้าน หรือบนเวที ตามแต่ความเหมาะสมการแต่งกาย เหมือนกับการแสดงซัมเปง แต่อาจจะประณีตบรรจงและใช้ผ้าที่ดูจะมีราคาและสวยงามมากกว่าการแต่งกายของซัมเปง 

          ท่าเต้นรองเง็ง แต่เดิมมีลีลาค่อนข้างปานกลาง ต่อมานำเอาจังหวะเต้นรำเข้าไปปะปน 
เช่น รุมบ้า แซมบ้า กัวลาซ่า เป็นต้น และใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าไปผสมด้วยเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน 
การเต้นหรือแสดงรองเง็ง จะไม่มีพิธีหรือขนบธรรมเนียมอื่น ๆ แต่จะเริ่มเมื่อดนตรีบรรเลงฝ่ายชายจะเข้าไปโค้งฝ่ายหญิง เพื่อเชื้อเชิญให้ออกเต้น ไม่มีการจับมือกัน เมื่อจบเพลงหนึ่ง ๆ ก็จะโค้งให้กัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะยืนคนละฝั่งของเวที หันหน้าเข้าหากัน ทั้ง ๒ ฝ่ายจะรักษาแถวให้ขึ้นลงอย่างมีจังหวะและลีลาที่นุ่มนวลเหมือนเต้นลอยอยู่บนอากาศอย่างแผ่วเบา
การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที

          


   ขอบคุณที่มา www.artsedcenter.com



Copyright © 2011 All Rights Reserved

Copyright Rights Reserved.


แบบทดสอบท้ายบทเรียน...



1   “วิวัฒนาการมาจากหนังสือใหญ่ต่อมาใช้ตัวโขนสลับกบการเชิดหนังใหญ ั ่ที่
     เรียกวาหนังติดตัวโขน เมื่อความนิยมเรื่องหนังใหญ ่ ่เลิกลงจึงนิยมแสดงโขนชนิดนี้” 
     จากข้อความ หมายถึงการแสดงชนิดใด 
     ก. โขนหน้าจอ      ข. โขนฉาก 
     ค. โขนโรงนอก       ง. โขนสลับฉาก 

2 .  การแสดงโขนชุดพระรามตามกวาง ลักษณะการเดินของพระรามและกวาง
     เป็นอยางไร 
    ก. เดินเป็นวง              ข. เดินเป็นวงกลม 
    ค. เดินเป็นทางตรง     ง. เดินเป็นทางคดไปมา 

3. เพลงหน้าพาทย์เพลงใดใช้ประกอบแสดงโขนชุดพระรามตามกวาง 
     ก. เชิด                   ข. เชิดจีน 
     ค. เชิดนอก            ง. เชิดฉาน 

4.  ภูมิปัญญาไทยที่สอดแทรกอยูในการแสดงโขนที่เห็นเด่นชัดกว่าลักษณะ ่
     อื่นๆคือภูมิปัญญาทางด้านใด 
     ก. การเต้น            ข. การขับร้อง 
     ค. การแต่งกาย     ง. การบรรเลงดนตรี 

5. รำวงมาตรฐานมีกี่เพลง
ก.
ข.
ค.
ง.

6. ฟ้อนเล็บ เป็นการแสดงของภาคใด
                                                                             
1.
2.
3.
4.

7 .เพราะเหตุใดผู้แสดงที่เป็ นพระนางไม่ต้องสวมหัวโขน จึงไม่เจรจาเอง 
    ก. เพราะผู้แสดงไม่ถนัด 
    ข. เพราะมีนักร้องและนักดนตรีร้องแทน 
    ค. เพราะต้องการรักษาจารีตของการแสดงโขนไว้ 
    ง. เพราะผู้แสดงไม่ได้รับการฝึ กหัดให้เจรจาเอง 

8 . ข้อใดเป็ นลักษณะท่ารําของการแสดงพื้นเมืองชุดรําสีนวล 
     ก. ตีบทตามเนื้อร้อง 
    ข. รําตามทํานองเพลง 
    ค. รําแบบนายนาดของสตรี 
    ง. ตีบทตามเนื้อร้องและมีท่ารําในทํานองเพลง 

9 .จังหวัดใดที่ทําการฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุดตารีกีปัส 
    ก. ยะลา 
    ข. สงขลา 
    ค. ปัตตานี 
    ง. นราธิวาส 

10. การแสดงประเภทใดที่สอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านในท้องถิ่น 
    ก. โขน 
    ข. ละครรํา 
    ค. ระบํา รํา ฟ้ อน 
    ง. การแสดงพื้นเมือง 

11. การแสดงนาฏศิลป์ พื้นเมืองชุดใดที่เน้นลีลาการเล่นเท้า 
    ก. สีนวล 
    ข . ตารีกีปัส 
    ค. ฟ้ อนสาวไหม 
    ง. ลาวดวงเดือน 

 12. ข้อใดเป็นจารีตในการแสดงโขน 
     ก. ก่อนการแสดงโขนต้องมีระบํา 
    ข. ก่อนการแสดงโขนต้องรําเบิกโรง 
    ค. ก่อนการแสดงโขนต้องบรรเลงเพลงสาธุการ 
    ง. ก่อนการแสดงโขนต้องผู้บรรยายเนื้อเรื่อง 

13 .นาฏศิลป์ พื้นเมืองพัฒนามากจากการแสดงประเภทใด 
    ก. การละเล่น 
    ข. การแสดงพื้นเมือง 
    ค. การเล่นเพลงพื้นบ้าน 
    ง. การร้องรําทําเพลง 

14 . “ระบําชาวนา” เป็นการแสดงประเภทใด? 
     ก. ระบํา เบ็ดเตล็ด 
     ข. นาฏศิลป์ เบ็ดเตล็ด 
     ค. ระบํา รํา ฟ้อน เซิ้ง 
     ง. การแสดงพื้นเมืองประเภทชุดเบ็ดเตล็ด 

15 . ข้อใดไม่ใช่หลักสําคัญของการแสดงนาฏศิลป์ 
     ก. เนื้อเรื่อง และการดําเนินเรื่อง 
     ข. สุนทรียภาพและลีลาในการแสดง 
     ค. การสื่อความหมาย และการริเริ่มสร้างสรรค์ 
     ง. ความถูกต้องของท่าเต้น ท่ารํา จังหวะ และทํานอง 

16.  ผู้ใดมีสุนทรียภาพที่ดีในการเป็ นผู้แสดง 
    ก. ใบบัวฝึกซ้อมท่องบทละครเพื่อให้จําได้ 
    ข. ใบบุญให้เพื่อนอ่านบทละครให้ฟังขณะกินข้าว 
    ค. ใบตาลท่องบทครั้งเดียวก็จําได้ เพราะตนเองความจําดี 
    ง. ใบแกวอยากแสดงในบทบาทที่เด ้ ่น ๆ เพราะคนดูจะได้จําได้ 

17 . ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อลักษณะกาแสดงของนาฏศิลป์ พื้นเมือง 
     ก. สภาพทางภูมิศาสตร์ นาฏศิลป์ พื้นบ้าน วัฒนธรรม 
     ข. สภาพทางภูมิศาสตร์ เครื่องแต่งกาย ศิลปะท้องถิ่น ดนตรี 
     ค. สภาพทางภูมิศาสตร์ ประเพณี ความเชื่อ ศาสนาและค่านิยม 
     ง. สภาพทางภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล 

18 .การวิเคราะห์การแสดงนาฏศิลปะไทยอย่างมีหลักการต้องปฏิบัติอย่างไร 
     ก. ต้องเสาะแสวงหาความความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ 
     ข. ต้องศึกษาด้านสุนทรียศาสตร์ของศิลปะการแสดง 
     ค. ต้องมีประสบการณ์ในการชมการแสดงนาฏศิลป์ ไทย 
     ง. ต้องศึกษาให้เข้าใจหลักการวิจารณ์การแสดงแต่ละประเภท 

19 .ศิลปะแห่งการร่ายรําและการแสดงเป็ นเรื่องราวต่าง ๆ หมายถึงข้อใด 
     ก. รํา 
     ข. ระบํา 
     ค. ละคร 
     ง. การแสดงพื้นเมือง 

20 . ข้อใดคือประโยชน์ของการเรียนวิชานาฏศิลป์ 
     ก. พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง 
     ข. รู้จักการประหยัดและอดออม 
     ค. รู้จักการใช้เวลาให้เป็ นประโยชน์ 
     ง. ข้อ 1 และ 3 ถูก 








1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2565 เวลา 12:36

    Sahara Casino Resort - Spa, Spa, Spa, & Resort - Singapore
    The desert sands casino is a 샌즈카지노 resort, spa, casino, and resort 바카라 사이트 located near the หาเงินออนไลน์ beautiful Gold Coast in Singapore, Malaysia.

    ตอบลบ